สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เที่ยวสนุกทัวร์ โทรสายด่วน 085 384 0228 หรือดาวโหลดโปรแกรมทัวร์นี้ ที่นี่ คลิก |
โปรแกรมทัวร์ทะเลตรัง ทะเลกระบี่ ราคาถูกๆ บริการประทับใจ |
|
|
|
|
ทัวร์ตรัง กระบี่ 3 วัน 2 คืน บินขึ้นลงสนามบินหาดใหญ่
เที่ยว 2 จังหวัดทะเลอันดามัน
ทะเลตรัง ถ้ำมรกต เกาะมุก เกาะเชือก เกาะม้า เกาะกระดาน
ทะเลกระบี่ ทะเลแหวก เกาะไก่ เกาะปอดะ สระมรกต น้ำตกร้อน
เดินทางได้ทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค.-15 พ.ค.
ราคาเริ่มต้นที่ท่านละ 5,700 บาท
|
ท่านที่ต้องการท่องเที่ยวตามโปรแกรมทัวร์ด้านบน หรือ จะให้เราจัดกรุ๊ปทัวร์ท่องเที่ยวทะเลตรัง ทะเลกระบี่ ทะเลสตูล ราคาตามใจท่าน ปรึกษาเราได้ที่ เบอร์ 075 502 938 / 085 384 0228 |
|
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดตรัง
|
|
|
|
--------------------------------------------------- |
จังหวัดตรังตรัง หรือเมืองทับเที่ยง ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารา โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี นำพันธุ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เมื่อ พ.ศ. 2442 และถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ตรังมีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำตรัง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง และแม่น้ำปะเหลียน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด
ตรัง เป็นจังหวัดชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีฝั่งทะเลยาวทางด้านตะวันตก ประมาณ 119 กิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะในทะเลอันดามันที่อยู่ในการปกครองกว่า 46 เกาะ ภายในพื้นที่อำเภอกันตัง 12 เกาะ อำเภอปะเหลียน 13 เกาะ และอำเภอสิเกา 21 เกาะ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว คือระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤษภาคมของปี
ตรัง มีพื้นที่รวม 4,941 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอรัษฎา และอำเภอหาดสำราญ
ที่มาของชื่อจังหวัด"ตรัง" คำว่า "ตรัง" มีความหมายสันนิษฐานได้ 2 ทาง คือ
1. มาจากคำว่า "ตรัง" ซึ่งตามศัพท์แปลว่า ลูกคลื่น เพราะลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรังเป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่นอยู่ทั่วไป
2. มาจากคำว่า "ตรังเค" ซึ่งภาษามลายูแปลว่า "รุ่งอรุณ" หรือ "สว่างแล้ว" สมัยก่อนชาวมลายูและชาวมัชฌิมประเทศ ที่เดินทางมาโดยทางเรือมาค้าขายกับไทย เรือแล่นมาตามลำน้ำตรังพอมาถึงอำเภอกันตัง ก็เป็นเวลารุ่งอรุณพอดี ซึ่งตรงกับคำว่า "ตรังเค" ในภาษามลายู
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดพัทลุง สงขลา
ทิศตะวันออก ติดกับชายทะเลฝั่งอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดตรัง และกระบี่
การเดินทางจากตรังไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จากจังหวัดตรังมีรถตู้ปรับอากาศไปเกาะลันตา จังหวัดกระบี่และจังหวัดสตูล ดังนี้
ตรัง-เกาะลันตาในจังหวัดกระบี่ รถออกเวลา 10.00 น. 12.00 น. 13.30 น. และ 15.30 น. ใช้เวลาเดินทาง 2.30 ชั่วโมง
ตรัง-สตูล รถออกเวลา 11.00 น. ใช้เวลาเดินทาง 1.30 ชั่วโมง ถึงท่าเรือปากบาราและท่าเรือตำมะลังสนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ จิตรลดา ทัวร์ (อยู่หน้าสถานีรถไฟ) โทร. 0 7521 6110
นอกจากนั้นมีรถยนต์รับจ้างจากตัวเมืองตรังไปจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ พัทลุง 56 กิโลเมตร นครศรีธรรมราช 123 กิโลเมตร กระบี่ 131 กิโลเมตร สตูล 134 กิโลเมตร หาดใหญ่ 148 กิโลเมตร สงขลา 176 กิโลเมตร พังงา 221 กิโลเมตร สุราษฎร์ธานี 226 กิโลเมตร ภูเก็ต 312 กิโลเมตร ชุมพร 378 กิโลเมตร
การเดินทางโดยรถยนต์
1. ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ชุมพร จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 41 ผ่าน สุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง-ห้วยยอด-ตรัง ระยะทาง 828 กิโลเมตร
2. ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ชุมพร จากนั้นผ่านแยกเข้าระนอง-พังงา-กระบี่-ตรัง ระยะทาง 1,020 กิโลเมตร
การเดินทางโดยรถไฟ มีรถเร็วและรถด่วนออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงสถานีตรังทุกวัน ระยะทาง 870 กิโลเมตร ใช้เวลา 15 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือสถานีรถไฟตรัง โทร. 0 7521 8012
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ กรุงเทพฯ - ตรังทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ 0 2435 1199 (รถปรับอากาศ) และโทร. 0 2434 5557-8 (รถโดยสารธรรมดา) หรือ บริษัท ขนส่ง จังหวัดตรัง โทร. 0 7521 8718
การเดินทางโดยเครื่องบิน สายการบินนกแอร์ มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดตรังโทร. 1318
ลักษณะอากาศทั่วไป
จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมที่พัดผ่านประจำเป็นฤดูกาล 2 ชนิด คือ ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นลมเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไปมีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป แต่ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประขวบคีรีขันธ์ลงไปกลับมีฝนตกชุก เพราะลมมรสุมนี้พัดผ่านอ่าวไทย จึงพาเอาไอน้ำไปตกเป็นฝนทั่วไปตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป อากาศจึงไม่หนาวเย็นดังเช่นภาคอื่น ๆ ที่อยู่ทางตอนบนของประเทศ และจังหวัดตรังซึ่งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันตกได้รับอิทธิพลของลมนี้จึงมีฝนตกเพียงเล็กน้อย และมีอากาศเย็น ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย จึงพาเอาไอน้ำและความชุ่มชื้นมาสู่ประเทศไทย แต่เนื่องจากจังหวัดตรังอยู่ทางด้านรับลมจึงได้รับอิทธิพลจากลมนี้อย่างเต็มที่ จึงทำให้มีฝนตกชุกมากเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ทางตอนบนของประเทศ แต่ในภาคเดียวกันจังหวัดตรังมีฝนอยู่ในเกณฑ์แล้ง
อุณหภูมิ เนื่องจากจังหวัดตรังตั้งอยู่ในคาบสมุทรที่มีแหลมยื่นออกไปในทะเล จึงได้รับมรสุมอย่างเต็มที่ คือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดียและมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย ทำให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื้นมากอุณหภูมิโดยเฉลี่ยจึงไม่สูงมากและอากาศไม่ร้อนจัดในฤดูร้อน อากาศจะอบอุ่นในช่วงฤดูฝน ส่วนฤดูหนาวอากาศจะเย็นในบางครั้ง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.4 ซ. อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.3 ซ. อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.7 ซ. เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุด เคยตรวจอุณหภูมิสูงที่สุดได้ 39.7 ซ. เมื่อวันที่ 13 ,18 เมษายน 2501 และเคยตรวจอุณหภูมิต่ำที่สุดได้ 15.8 ซ. เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2504
ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์สัมพันธ์กับมวลอากาศและอิทธิพลของลมมรสุมเป็นสำคัญ ตลอดทั้งปีจังหวัดตรังจะมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากมรสุมทั้งสองฤดูอย่างเต็มที่ มรสุมทั้งสองนี้ก่อนจะพัดเข้าสู่บริเวณจังหวัดได้ผ่านทะเลและมหาสมุทรจึงได้พัดเอาไอน้ำและความชุ่มชื้นมาด้วย ทำให้บริเวณจังหวัดมีความชุ่มชื้นและความชื้นสัมพัทธ์สูงเป็นเวลานาน ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีประมาณ 82 % ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 96 % ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดเฉลี่ย 62 % เคยตรวจความชื้นสัมพัทธ์ต่ำที่สุดเคยตรวจได้ 19 % ในเดือนมกราคม
ฝน ตรังเป็นจังหวัดที่มีฝนอยู่ในเกณฑ์ดีถ้าเทียบทั้งประเทศ แต่ถ้าเทียบตามภาคอยู่ในเกณฑ์ฝนแล้ง เพราะบริเวณจังหวัดอยู่ด้านฝั่งตะวันตกของภาคใต้จึงได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เต็มที่ ปริมาณฝนในฤดูนี้จึงมีมากและได้รับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือน้อย เนื่องจากด้านตะวันออกถูกปิดกั้นด้วยภูเขา ปริมาณฝนในมรสุมนี้จึงน้อย ฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 2,327.4 มิลลิเมตร และมีฝนตกเฉลี่ย 174 วัน เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือเดือนกันยายน มีฝนเฉลี่ย 335.8 มิลลิเมตร ฝนตกประมาณ 20 วัน ฝนสูงสุดใน 24 ชั่วโมง เคยตรวจได้ 368.7 มิลลิเมตร เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2518
จำนวนเมฆ ตลอดทั้งปีจะมีจำนวนเมฆเฉลี่ยประมาณ 6 ส่วนของจำนวนเมฆในท้องฟ้า 8 ส่วน โดยในฤดูร้อนเมฆประมาณ 4 ส่วน ฤดูฝนประมาณ 7 ส่วน ฤดูหนาวประมาณ 5 ส่วน หมอก ฟ้าหลัว และทัศนวิสัย โดยเฉลี่ยแล้วจังหวัดตรังมีโอกาสเกิดหมอกได้เกือบทุกเดือนประมาณเดือนละ 3 – 7 วัน เดือนตุลาคมเป็นเดือนที่เกิดหมอกมากที่สุดประมาณ 12 วัน วันที่เกิดหมอกทัศนวิสัยจะเลวเห็นได้ไม่เกิน 1 กิโลเมตร ส่วนฟ้าหลัวเกิดได้ทุกเดือน เดือนมกราคมถึงเมษายนเกิดมากประมาณเดือนละ 20 – 25 วัน ส่วนเดือนอื่น ๆ จะเกิดได้ประมาณ 9 – 13 วัน วันที่มีฟ้าหลัวทัศนวิสัยจะเห็นได้ไกลประมาณ 6 กิโลเมตร ทัศนวิสัยเฉลี่ยเวลา 07.00 น. ประมาณ 4 กิโลเมตร และทัศนวิสัยเฉลี่ยตลอดวันประมาณ 8 กิโลเมตร
ลม ระบบหมุนเวียนของลมในจังหวัดตรังมีความชัดเจนดี โดยในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ลมจะพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็วลมเฉลี่ย 7 - 13 กม./ชม. เดือนมกราคมถึงเมษายนพัดจากทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 7 - 15 กม./ชม. และในฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ลมจะเปลี่ยนเป็นทิศตะวันตกความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 6 – 7 กม./ชม. กำลังลมสูงสุดในแต่ละฤดูมีดังนี้ ฤดูร้อนเคยตรวจลมสูงที่สุดได้ 93 กม./ชม. เป็นลมทิศตะวันออกในเดือนเมษายน ฤดูฝนเคยตรวจลมสูงที่สุดได้ 93 กม./ชม. เป็นลมทิศตะวันตกค่อยไปทางใต้เล็กน้อยในเดือนกรกฎาคม และฤดูหนาวเคยตรวจลมสูงที่สุดได้ 74 กม./ชม. เป็นลมทิศตะวันออกในเดือนธันวาคมและทิศตะวันออกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อยในเดือนมกราคม
ยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดตรัง ปี 57-58
ด้านวิสัยทัศน์: ตรังเมืองแห่งความสุข
พันธกิจ:
1. มุ้งสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ (ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และด้านการท่องเที่ยว) ให้มีความมั่งคั่ง
2. พัฒนาสังคม การศึกษา และคุณภาพชีวิตของประชาชน
3. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนและสร้างสิงแวดล้อมที่ที่
4. บริหารจัดการภาครัฐตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
เป้าประสงค์รวม
1. เมืองเกษตรยังยืน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งอันดามัน
2. เป็นสังคมและมีการศึกษาเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
3. ฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สมบรูณ์และสิงแวดล้อมที่ดี
4. ประชาชนมีขีดความสามารถ พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ประเด็นยุทธศาสตร์:
ยุทธศาสตร์ที่1: การสร้างฐานเศรษฐกิจของจังหวัด (ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว) ที่มั่งคั่งและมีเสถียรภาพ
เป้าประสงค์ที่1 รายได้จากการเกษตรเพิ่มขึ้น
กลยุทธิ์
1. การพัฒนาการผลิตรและการตลาดยางพาราและปาล์มน้ำมันแบบครบวงจร
2. การพัฒนาการผลิตและการตลาดการเกษตรปศุสัตว์และประมง
เป้าประสงค์ที่2: ผลผลิตทางอุตสาหกรรมและการเกษตรมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
กลยุทธิ์
1. การส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา
2. การส่งเสริมอุตสาหกรรม แปรรูปปาล์มน้ำมัน
3. การส่งเสริมการแปรรูปทางปศุสัตว์/ประมง สำหรับธุรกิจขนาดย่อมและOTOP
เป้าประสงค์ที่3: รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
กลยุทธ์
1. พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งอันดามัน
2. ส่งเสริมและประชาสัมพันธิ์กิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี
3. สร้างความโดดเด่นของจังหวัด ในการเป็นสถานที่จัดประชุมสัมมนา ศึกษาดูงานและเป็นเมืองแห่งกีฬาและนันทนาการ
4. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขนส่งสินค้า และบริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2: การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิต และการศึกษาเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
เป้าประสงค์ที่ 1: ตรังเป็นสังคมดี
กลยุทธ์
1. เสริมสร้างครอบครัวอบอุ่น เข้มแข็ง
2. เสริมสร้างหมู่บ้าน/ ชุมชนเข้มแข็งปลอดภัย
3. เสริมสร้างสังคมคุณธรรมจริยธรรมและประเพณีวัฒนธรรม
เป้าประสงค์ที่ 2: ประชาชนมีรายได้และหลักประกันที่มั่นคง
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมอาชีพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจแก่ผู้มีรายได้น้อง
2. ส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสิทธิอย่างทั่วถึง
3. พัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด
เป้าประสงค์ที่ 3: ประชาชนมีสุขภาวะ
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
3. จัดการแหล่งผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย
เป้าประสงค์ที่ 4: ประชาชนมีการศึกษา เรียนรู้ดี และมีคุณภาพ
กลยุทธ์
1. พัฒนาการศึกษาทุกระดับและแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างบูรณาการ
2. ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพประชาชนทุกช่วงวัย
3. สนับสนุนให้มีชุมชนแห่งการเรียนรู้
4. สร้างความพร้อมประชาชนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 3: การบริหารจัดการฐานทรัพยากรให้ยั่งยืนและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี
เป้าประสงค์ที่1: ทรัพยากรธรรมชาติมีความสมบรูณ์
กลยุทธ์:
1. ป้องปรามเพื่อลดคดีเกี่ยวกับการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
2. ปลูกป่าและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำ
เป้าประสงค์ที่ 2: จังหวัดตรังมีสิงแวดล้อมที่ดี
กลยุทธ์
1. สร้างความร่วมมือของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำจัดขยะมูลฝอย
2. จัดการปัญหาขยะแบบบูรณาการ
3. เสริมสร้างการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลองและชายฝั่งทะเลโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน
4. ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์: การเสริมสร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ
เป้าประสงค์ที่ 1: การบริหารจัดการของจังหวัดตรังสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด
2. พัฒนาฐานเรียนรู้ของจังหวัด
3. สร้างความผาสุขและความพึงพอใจของบุคลากรภาครัฐ
ตำแหน่งการพัฒนา
เมืองเกษตรกรรม : จังหวัดมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 3,088,399 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรจำนวน 1,903,746 ไร่ คิดเห็นร้อยละ 61.64 ของพื้นที่ทั้งหมด ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชิพเกษตรกรรม ทำสวนอย่างพารา ปาล์มน้ำมัน ปลูกพื้ชไร่ พืชผัก ผลิตภัณฑ์มวลรวม ในปี 2553 มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งสิ้น 69,365 ล้านบาท มูลค่าในภาคเกษตร จำนวน 34,076 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.13 สาขาทางด้าน เกษตรกรรมมีมูลค้าผลิตรภัณฑ์มากที่สุด และมูลค่านอกภาคเกษตรและอื่นๆ รวม 35,287 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.87 ทั้งนี้ภาคการเกษตรถือเป็นภาคเศษตรฐกิจหลักของจังหวัดมาโดยตลอด จึงถือว่าเศษฐกิจของจังหวัดตรังมีโครงสร้างภาคเกษตรเป็นหลัก โดยเฉพาะยางพารา ที่มีจำนวนพื้นที่ปลูกและมูลค้าผลผลิตเป็นลำดับ 1 ของพืชเศรษฐกิจของจังหวัด
เมืองอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตร : สาขาเศรษฐกิจที่สัดส่วน GPP รองจากสาขาเกษตร คือ สาขาอุตสาหกรรม ฐานอุตสาหกรรมของจังหวัดตรังที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการเกษตร เนื่องจากจังหวัดตรังมีผลผลิตทางด้านการเกษตรที่สำคัญและสามารถดำเนินการเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหรรมไม้ยาง อุตสาหกรรมแปรรูอาหารทะเล อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมส่งออก ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดตรังเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ้งแนวโน้มความต้องการอาหารของประชากรโลกเพิ่มขึ้นในขณะที่มีความผันผวนของสิงแวดล้อมที่ทำให้เกิดภาวะอาหารขาดแคลน ดังนั้น จึงเป็นโอกาศของจังหวัดตรังที่จะผลิตอาหารป้อนประชากรโลก
เมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: ปัจจุบันการท่องเที่ยวของจังหวัดตรังมีนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวที่จำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การท่องเที่ยวเริ่มมีทิศทางที่ชัดเจนและเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น เนื่องจากมีชื่อเสียงที่แตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นอย่างชัดเจน และมีอัตลักษณ์ของตัวเองในด้านความสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามและวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ การผจญภัย เป็นต้น
จังหวัดมัความพร้อมรองรับประชาคมอาเซี่ยน: จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์อาเซียนคลีนิกเซ็นเตอร์ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งในสถานศึกษาจัดตั้งศูนย์อาเซียน เพื่อพัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วนให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558
ค่านิยมหลักของจังหวัดตรัง:
1. ยึดหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีศักดิ์ศรี กล้ายืนหยัดในสิงที่ถูกต้อง
3. ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบได้
4. โปร่งใส ตรวาจสอบได้
5. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
6. รู้รักสามัคคี สร้างความสัมพัณธ์ที่ดีในหน่วยงาน
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก : สำนักงานจังหวัดตรัง T/F. 075 218 516
|
•โปรแกรม ทัวร์ตรัง |
|
|
|
|
|
|
|